|
|||||||
![]() |
ความเป็นมาของเหล็กลายหนึ่งเดียวในเมืองไทย เป็นการตีมีดเหล็กร้อนที่สร้างลายจาก เนื้อเหล็กสองชนิดที่ตกทอดมาจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ ผู้สั่งสมประสบการณ์ ทุบเหล็กตีเหล็กจากเมืองจีน อพยพมาเมืองมาเมืองไทยเสื่อผืนหมอนใบ อาศัยมีความรู้จากการตีมีด มาประกอบอาชีพตีมีดเลี้ยงชีวิตจนมีฐานะเป็นปึกแผ่น และได้ถ่ายทอดความลับในการทำมีดให้กับลูกชายซุ่นซุ่ย ซึ่งลูก ชายได้ประกอบอาชีพตามบรรพบุรุษและพัฒนางานมีดมาจนทุกวันนี้ เหล็กลายของบรรพบุรุษครูซุ่นซุ่ยเกิดจากสมัยนั้น เหล็กกล้าหายากมากคนที่มีก็หวงแหน การที่จะทำมีดซึ่งอาศัยเหล็กกล้าจึงจำเป็นต้องประหยัด ด้วยภูมิปัญญาจึงคิดเอาเหล็กอ่อนหลายชนิดมาตีรวมกันเพื่อให้ได้เนื้อเหล็ก จำนวนมากแล้วเอามาห่อหุ้มเหล็กกล้าซึ่งหายากเพื่อทำมีดที่มีความคมและกล้า การทำสมัยนั้นมิได้มุ่งหวังว่าจะเกิดลายสวยงาม แต่เพื่อประหยัดเหล็กกล้าเท่านั้น ต่อเมื่อทำออกมาแล้วพบว่าเมื่อเอาเหล็กต่างชนิดกันมาตีรวมกันแล้วทำให้เนื้อ เหล็กใหม่เป็นลาย บางครั้งก็ตีไม่เป็นเนื้อเดียวกันแตกออกเป็นกาบ จนต้องเลือกเหล็กแบบลองผิดลองถูก แล้วจดจำไว้ว่าใช้ตีรวมกันได้หรือไม่ จนพัฒนามารุ่นแล้วรุ่นเล่า และประสบผลสำเร็จในปัจจุบัน งานที่ทำให้เกิด ชื่อเสียงกับเหล็กลายคือขวาน เพราะมีคนอยากได้นำรูปแบบมาให้ทำ เมื่อผลงานออกมาไม่ทำให้ผิดหวัง จากปากต่อปากบอกสู่กันไปในหมู่คนชอบมีด หลายๆคนอยากได้จึงตีออกมาให้แทบไม่ทันเพราะตีคนเดียวลำบากมาก ลูกๆก็ยังเล็กยังช่วยงานไม่ได้แต่ก็สนใจคอยหยิบช่วยเหลือมาแต่เด็กจน ปัจจุบันลูกๆโตกันหมดแล้ว ไม่ยอมไปทำงานในสายการเรียนมา กลับอยู่ช่วยครูทำมีดที่บ้านทั้ง 4 คน จึงทำให้ช่วยผ่อนแรงครูในการทำเหล็กลายอย่างมาก และได้ช่วยนำความรู้เรื่องโลหะที่เรียนมามาช่วยครูปรับปรุงพัฒนาจากโลหะ วิทยาบวกกับภูมิปัญญาดั้งเดิมให้ได้มีดที่มีคุณสมบัติเต็มร้อย แถมยังมีที่ปรึกษา ซึ่งเชี่ยวชาญเรื่องโลหะมาให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด คือพี่อู๊ด ลายแทง สำหรับผู้ครอบครองมีดไม่ต้องกลัวผิดหวัง
นำเข้าเตาเผาเพื่อเชื่อมผสานเนื้อเหล็ก ทั้งสองชนิด ที่อูณหถูมิสูง โดยใช้ถ่านไม้รวก
ตีเหล็กให้ชั้นระหว่างเนื้อเหล็กทั้งสองชนิด เชื่อมติดกัน
นำเข้าเตาเผาอีกครั้งเพื่อ ตีเหล็กด้วยค้อนให้เนื้อเหล็กยึด ยาวออก
เมื่อได้ความยาวที่ต้องการแล้ว นำมาตัด แล้วพับเข้าหากัน
นำเหล็กไปชุบน้ำประสาน เป็นสูตรลับเฉพาะ เพื่อให้เป็นตัวช่วยประสานเนื้อเหล็ก
นำเข้าเตาเผาอีกครั้งและตีเหล็กด้วยค้อน เพื่อผสานเนื้อเหล็ก ในขั้นตอนนี้เราจะได้ชั้นของเหล็ก เป็น 80ชั้น
เพื่อให้ได้จำนวนชั้นของลายมากขึ้น ตีทบแบบครั้งแรกอีกครั้งทำให้ขั้นตอนนี้เราจะได้จำนวนชั้นของเหล็ก เป็น 160 ชั้น
นำเหล็กไปชุบน้ำประสาน เพื่อเป็นตัวช่วยประสานเนื้อเหล็ก
นำเข้าเตาเผา แล้วตีเชื่อมประสาน ปั้นขึ้นทรงมีดตามแบบ
ได้แบบตามต้องการ
ใช้เครื่องเจียร ตะไบ แต่ง ให้ได้มีดตามแบบ และ ขัดผิวด้วยกระดาษทราย
นำ มีดไป ชุบ อบ ตามสูตรเฉพาะ ซึ่งจะต้องใช้ความชำนาญ และประสบการณ์ จากนั้นนำมีดไปกัดกรดด้วยกรดซัลฟูริกเจือจาง 33.5% (กรดแบตเตอรี่)ประมาณ 1 ชม.เพื่อให้กรดกัดเหล็กส่วนที่เป็นเหล็กอ่อนออก ทำให้เกิดลายบนใบมีด
มีดแต่ละเล่มจะมีลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะเล่ม ( ทุกเล่มจะไม่ซ้ำลายกัน )
ดาบไทยหัวปลาหลดที่ตีจากเหล็ก Claddamascus ของครูซุ่นซุ่ย
อีกด้านหนึ่งของดาบ
กั่นดาบแข็งแรง
กั่นเป็นเนื้อเดียวกับใบดาบมั่นคง
กกใบดาบด้านซ้าย
กกดาบด้านขวา
เอวดาบด้านซ้าย
เอวดาบด้านขวา
ปลายดาบด้านซ้าย
ปลายดาบด้านขวา
ความหนาของกั่น
สันดาบหนามั่นคง
สันตีไล่ปลายบาง
ปลายดาบคมเฉีบยแข็งแรงมั่นคง
สิ่งที่เราภูมิใจ ดาบไทยหัวปลาหลด จากเหล็ก CladDamascus ที่ตีจากเหล็กสองชนิด ในเมืองไทยด้วยฆ้อนมือโดยครูซุ่นซุ่ย |
|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |